แมลงทับ (อังกฤษ: Jewel beetle, Metallic wood-boring beetle, Buprestid) เป็นแมลงในอันดับแมลงปแข็ง (Coleoptera) โดยจัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae
แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับอัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงิน, แดง, ดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ
แมลงทับพบในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล และที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิด บางชนิดมีความยาวถึง 77 มิลลิเมตร
ข้อมูลทั่วไป
แมลงทับทั้งสองชนิดนี้มีสีเขียวมรกตมันวาว บางตัวอาจมีสีเขียวเหลือบทองน้ำเงิน
หรือทองแดง ปกติพบแมลงทับเพียงปีละครั้งในช่วงฤดูเข้าพรรษา ระหว่างเดือน
กรกฎาคม ถึง ตุลาคม แมลงทับทั้งสองชนิดพบแพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ
แมลงทับทั้งสองชนิดนี้มีสีเขียวมรกตมันวาว บางตัวอาจมีสีเขียวเหลือบทองน้ำเงิน
หรือทองแดง ปกติพบแมลงทับเพียงปีละครั้งในช่วงฤดูเข้าพรรษา ระหว่างเดือน
กรกฎาคม ถึง ตุลาคม แมลงทับทั้งสองชนิดพบแพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ
จากผลของงานวิจัยพบว่า...แมลงทับจะปรากฏให้เห็นเพียงปีละครั้งเดียว ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อวงจรชีวิต เช่น สภาพแวดล้อม
ก่อนเข้าหน้าฝน ถ้าหากสภาพอากาศแห้งแล้ง หนอนวัยสุดท้ายจะฟักตัวนิ่งข้ามปีได้
เพื่อรอจนกว่าจะถึงรอบปีตามปกติ.. มันจึงจะลอกคราบจากดักแด้กลายเป็นแมลงทับตัวเ
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อวงจรชีวิต เช่น สภาพแวดล้อม
ก่อนเข้าหน้าฝน ถ้าหากสภาพอากาศแห้งแล้ง หนอนวัยสุดท้ายจะฟักตัวนิ่งข้ามปีได้
เพื่อรอจนกว่าจะถึงรอบปีตามปกติ.. มันจึงจะลอกคราบจากดักแด้กลายเป็นแมลงทับตัวเ
ถิ่นอาศัย
แมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ในภาคอีสาน ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
อาหารแมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ในภาคอีสาน ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย
วงจรชีวิต
จับคู่ผสมพันธุ์ในเวลากลางวันใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับของเพศเมีย
เมื่อผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียวางไข่ที่บริเวณโคนต้นพืชอาหาร ลึกลงในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร
วางไข่ทีละฟองจำนวน 1-2 ฟองต่อวัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตเพียง 1-3 สัปดาห์พบมีจำนวนมากที่
สุดในเดือนกันยายนของทุกปี ไข่ ฝังอยู่ในดินนาน 2-3 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม)
หนอน วัยที่ 1, 2, 3 และ 4 อาศัยอยู่ในดินแทะกินรากพืชและเหง้าเพ็ก นาน 3-4 เดือน
(พฤศจิกายน-มีนาคม) หนอนวัยที่ 5 หยุดกินอาหารและสร้างปลอกดินหุ้มตัวฝังอยู่ในดินลึก
5-10 เซนติเมตร หนอนวัยสุดท้ายนี้พักตัวอยู่ในปลอกดินนาน 12-15 เดือน (เมษายนปีแรก-มิถุนายนปีถัดไป จึงเข้าดักแด้ในปลอกดิน ดักแด้ นาน 2-3 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม)
เมื่อเป็นตัวเต็มวัยสีเขียวยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินอีกเกือบเดือน เพื่อให้ปีกแข็งแกร่งและพร้อมที่จะออกจากปลอกดิน แต่แมลงทับต้องคอยจนกว่าฝนจะตกหนัก และน้ำฝนไหลลงไปจนถึงปลอกดินแมลงทับจึงดันปลอกดินให้เปิดออก เดินขึ้นมาจากใต้ดินและเจาะผิวดินเป็นรูปกลมดันตัวเองขึ้นจากพื้นดิน เมื่อมีแสงแดดจึงบินไปกินอาหาร ผสมพันธุ์ และวางไข่ กว่าจะเป็นแมลงทับแต่ละตัวต้องใช้เวลาอาศัยอยู่ในดินนานถึง 2 ปี เมื่อเป็นตัวเต็มวัยก็มีชีวิตนานแค่ 1-3 สัปดาห์เท่านั้น
แมงทับจะใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสรเสรีจับคู่กันผสมพันธ์แล้วตัวผู้ก็ตายไป
ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ จากนั้นก็ตายตามไป
จำนวนแมลงทับในแต่ละปีมักจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเข้าพรรษา
ถ้ามีอากาศแห้งแล้ง จะมีจำนวนน้อย
แมลงทับขาเขียว
พบอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่มีขอบเขตแพร่กระจายกว้างทั้งประเทศชอบกินใบคางมะขามเทศ และต้นถ่อน ที่ขึ้นตามที่รกร้าง ป่าละเมาะ และริมข้างทาง
จับคู่ผสมพันธุ์ในเวลากลางวันใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับของเพศเมีย
เมื่อผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียวางไข่ที่บริเวณโคนต้นพืชอาหาร ลึกลงในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร
วางไข่ทีละฟองจำนวน 1-2 ฟองต่อวัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตเพียง 1-3 สัปดาห์พบมีจำนวนมากที่
สุดในเดือนกันยายนของทุกปี ไข่ ฝังอยู่ในดินนาน 2-3 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม)
หนอน วัยที่ 1, 2, 3 และ 4 อาศัยอยู่ในดินแทะกินรากพืชและเหง้าเพ็ก นาน 3-4 เดือน
(พฤศจิกายน-มีนาคม) หนอนวัยที่ 5 หยุดกินอาหารและสร้างปลอกดินหุ้มตัวฝังอยู่ในดินลึก
5-10 เซนติเมตร หนอนวัยสุดท้ายนี้พักตัวอยู่ในปลอกดินนาน 12-15 เดือน (เมษายนปีแรก-มิถุนายนปีถัดไป จึงเข้าดักแด้ในปลอกดิน ดักแด้ นาน 2-3 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม)
เมื่อเป็นตัวเต็มวัยสีเขียวยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินอีกเกือบเดือน เพื่อให้ปีกแข็งแกร่งและพร้อมที่จะออกจากปลอกดิน แต่แมลงทับต้องคอยจนกว่าฝนจะตกหนัก และน้ำฝนไหลลงไปจนถึงปลอกดินแมลงทับจึงดันปลอกดินให้เปิดออก เดินขึ้นมาจากใต้ดินและเจาะผิวดินเป็นรูปกลมดันตัวเองขึ้นจากพื้นดิน เมื่อมีแสงแดดจึงบินไปกินอาหาร ผสมพันธุ์ และวางไข่ กว่าจะเป็นแมลงทับแต่ละตัวต้องใช้เวลาอาศัยอยู่ในดินนานถึง 2 ปี เมื่อเป็นตัวเต็มวัยก็มีชีวิตนานแค่ 1-3 สัปดาห์เท่านั้น
แมงทับจะใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสรเสรีจับคู่กันผสมพันธ์แล้วตัวผู้ก็ตายไป
ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ จากนั้นก็ตายตามไป
จำนวนแมลงทับในแต่ละปีมักจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเข้าพรรษา
ถ้ามีอากาศแห้งแล้ง จะมีจำนวนน้อย
แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์ จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กัน
แมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว
สำหรับแมลงทับชนิดที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ แมลงทับกลมขาเขียว (Sternocera aequisignata) พบมากในภาคกลางและแมลงทับกลมขาแดง (S . ruficornis) พบมากในภาคอีสาน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้กินใบอ่อนของมะขามเทศเป็นอาหาร และมีสีเขียวเหลือบทองเป็นมันแวววาวทั้งคู่ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามของทางการที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ของแมลงทับมิให้สูญพันธุ์ และมีการนำเอาปีกแมลงทับทั้ง 2 ชนิดนี้ทำเป็นงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการพระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
แมลงทับขาแดง
มักอยู่รวมเป็นกลุ่มใหญ่ พบกินใบพันซาด มะค่าแต้ พะยอมเต็ง ตะแบกแดง และกางขี้มอด ในบริเวณป่าเต็งรังและรอยต่อระหว่างป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณที่มีไผ่เพ็กหรือไผ่โจดขึ้นเป็นไม้พื้นล่าง พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มักอยู่รวมเป็นกลุ่มใหญ่ พบกินใบพันซาด มะค่าแต้ พะยอมเต็ง ตะแบกแดง และกางขี้มอด ในบริเวณป่าเต็งรังและรอยต่อระหว่างป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณที่มีไผ่เพ็กหรือไผ่โจดขึ้นเป็นไม้พื้นล่าง พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่มีขอบเขตแพร่กระจายกว้างทั้งประเทศชอบกินใบคางมะขามเทศ และต้นถ่อน ที่ขึ้นตามที่รกร้าง ป่าละเมาะ และริมข้างทาง
เกี่ยวข้องกับวิถีอีสาน
เวลาฝนตกเซาใหม่ ๆ หรือ เพิ่งหยุดตก ช่วงเข้าพรรษา เด็กน้อยลูกอีสาน พากันจับกลุ่ม
ไปเป็นหมู่คณะ ไปหา สั่นเอาแมงทับ หรือแมงคับ ตามต้นฮัง ต้นมะขามเทศ ( หมากขามแป )
ต้นมันปลา ต้นตะแบก และต้นส้มเสี้ยว โดยเมื่อพบ จะสั่นกิ่งไม้ให้มันตกลงมา
บ้างก็วิ่งไล่แมงทับ เพราะปีกมันเปียกฝนบินไปไม่ไกล เมื่อได้แล้ว ก็ นำปีกมันออก
เอาไปคั่ว หรือ จี่ ตามแต่ ถนัด
เนื่องจากปีกแมลงชนิดนี้ เงาวาวสีสันมรกต งดงาม จึงนิยมเอามาประดับ เครื่องไม้เครื่องมือ
เช่น เหน็บฝากระติบข้าว เหน็บข้างฝาแถบตอง เหน็บกระต่า , กระบุง กระด้ง ยามไปนา
บางครั้งก็เอามาทำ ปิ่นผม บางคนร้อยเป็นสร้อย ข้อมือ ต้อนขวัญน้อง
เด็กๆ จะเอาปีกแมงทับที่งดงามมาอวดกัน เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากปีหนึ่งๆ จะหาแมงทับได้
ครั้งเดียวเท่านั้น
แมงทับ มีความสัมพันธ์กันกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง โดยเฉพาะ ต้นโจด และกอหญ้าเพ็ก ซึ่งที่วางไข่
รวมทั้งพันธุ์ไม้ต่างๆ ในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นความเชื่อว่า หากปีไหนแมงทับ มีหลากหลาย
ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ไม่ทิ้งช่วง ขณะที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
ปีกของมันที่งดงาม ราวกับจะบอกว่า ระบบนิเวศน์ แห่งความสมดุล งดงามราวอัญมณี
เวลาฝนตกเซาใหม่ ๆ หรือ เพิ่งหยุดตก ช่วงเข้าพรรษา เด็กน้อยลูกอีสาน พากันจับกลุ่ม
ไปเป็นหมู่คณะ ไปหา สั่นเอาแมงทับ หรือแมงคับ ตามต้นฮัง ต้นมะขามเทศ ( หมากขามแป )
ต้นมันปลา ต้นตะแบก และต้นส้มเสี้ยว โดยเมื่อพบ จะสั่นกิ่งไม้ให้มันตกลงมา
บ้างก็วิ่งไล่แมงทับ เพราะปีกมันเปียกฝนบินไปไม่ไกล เมื่อได้แล้ว ก็ นำปีกมันออก
เอาไปคั่ว หรือ จี่ ตามแต่ ถนัด
เนื่องจากปีกแมลงชนิดนี้ เงาวาวสีสันมรกต งดงาม จึงนิยมเอามาประดับ เครื่องไม้เครื่องมือ
เช่น เหน็บฝากระติบข้าว เหน็บข้างฝาแถบตอง เหน็บกระต่า , กระบุง กระด้ง ยามไปนา
บางครั้งก็เอามาทำ ปิ่นผม บางคนร้อยเป็นสร้อย ข้อมือ ต้อนขวัญน้อง
เด็กๆ จะเอาปีกแมงทับที่งดงามมาอวดกัน เป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากปีหนึ่งๆ จะหาแมงทับได้
ครั้งเดียวเท่านั้น
แมงทับ มีความสัมพันธ์กันกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง โดยเฉพาะ ต้นโจด และกอหญ้าเพ็ก ซึ่งที่วางไข่
รวมทั้งพันธุ์ไม้ต่างๆ ในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นความเชื่อว่า หากปีไหนแมงทับ มีหลากหลาย
ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ไม่ทิ้งช่วง ขณะที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
ปีกของมันที่งดงาม ราวกับจะบอกว่า ระบบนิเวศน์ แห่งความสมดุล งดงามราวอัญมณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น