วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

แมลงทับ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมลงทับ

แมลงทับ (อังกฤษJewel beetle, Metallic wood-boring beetle, Buprestid) เป็นแมลงในอันดับแมลงปแข็ง (Coleoptera) โดยจัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae
แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับอัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงินแดงดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ
แมลงทับพบในเขตร้อนและขตอบอุ่นทั่วโลก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล และที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิด บางชนิดมีความยาวถึง 77 มิลลิเมตร
ข้อมูลทั่วไป
     แมลงทับทั้งสองชนิดนี้มีสีเขียวมรกตมันวาว บางตัวอาจมีสีเขียวเหลือบทองน้ำเงิน 
หรือทองแดง ปกติพบแมลงทับเพียงปีละครั้งในช่วงฤดูเข้าพรรษา ระหว่างเดือน 
กรกฎาคม ถึง ตุลาคม แมลงทับทั้งสองชนิดพบแพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ 
        
จากผลของงานวิจัยพบว่า...แมลงทับจะปรากฏให้เห็นเพียงปีละครั้งเดียว ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อวงจรชีวิต เช่น สภาพแวดล้อม
ก่อนเข้าหน้าฝน ถ้าหากสภาพอากาศแห้งแล้ง หนอนวัยสุดท้ายจะฟักตัวนิ่งข้ามปีได้
เพื่อรอจนกว่าจะถึงรอบปีตามปกติ.. มันจึงจะลอกคราบจากดักแด้กลายเป็นแมลงทับตัวเ
ถิ่นอาศัย
แมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ในภาคอีสาน ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
        อาหาร
ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย 
         วงจรชีวิต
จับคู่ผสมพันธุ์ในเวลากลางวันใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับของเพศเมีย 
เมื่อผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียวางไข่ที่บริเวณโคนต้นพืชอาหาร ลึกลงในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร 
วางไข่ทีละฟองจำนวน 1-2 ฟองต่อวัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตเพียง 1-3 สัปดาห์พบมีจำนวนมากที่
สุดในเดือนกันยายนของทุกปี ไข่ ฝังอยู่ในดินนาน 2-3 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม)
หนอน วัยที่ 1, 2, 3 และ 4 อาศัยอยู่ในดินแทะกินรากพืชและเหง้าเพ็ก นาน 3-4 เดือน
(พฤศจิกายน-มีนาคม) หนอนวัยที่ 5 หยุดกินอาหารและสร้างปลอกดินหุ้มตัวฝังอยู่ในดินลึก
5-10 เซนติเมตร หนอนวัยสุดท้ายนี้พักตัวอยู่ในปลอกดินนาน 12-15 เดือน (เมษายนปีแรก-มิถุนายนปีถัดไป จึงเข้าดักแด้ในปลอกดิน ดักแด้ นาน 2-3 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม) 

เมื่อเป็นตัวเต็มวัยสีเขียวยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินอีกเกือบเดือน เพื่อให้ปีกแข็งแกร่งและพร้อมที่จะออกจากปลอกดิน แต่แมลงทับต้องคอยจนกว่าฝนจะตกหนัก และน้ำฝนไหลลงไปจนถึงปลอกดินแมลงทับจึงดันปลอกดินให้เปิดออก เดินขึ้นมาจากใต้ดินและเจาะผิวดินเป็นรูปกลมดันตัวเองขึ้นจากพื้นดิน เมื่อมีแสงแดดจึงบินไปกินอาหาร ผสมพันธุ์ และวางไข่ กว่าจะเป็นแมลงทับแต่ละตัวต้องใช้เวลาอาศัยอยู่ในดินนานถึง 2 ปี เมื่อเป็นตัวเต็มวัยก็มีชีวิตนานแค่ 1-3 สัปดาห์เท่านั้น

แมงทับจะใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสรเสรีจับคู่กันผสมพันธ์แล้วตัวผู้ก็ตายไป
ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ จากนั้นก็ตายตามไป 
จำนวนแมลงทับในแต่ละปีมักจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเข้าพรรษา
ถ้ามีอากาศแห้งแล้ง จะมีจำนวนน้อย
 แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์ จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กัน
แมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว
สำหรับแมลงทับชนิดที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ แมลงทับกลมขาเขียว (Sternocera aequisignata) พบมากในภาคกลางและแมลงทับกลมขาแดง (S . ruficornis) พบมากในภาคอีสาน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้กินใบอ่อนของมะขามเทศเป็นอาหาร และมีสีเขียวเหลือบทองเป็นมันแวววาวทั้งคู่ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามของทางการที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ของแมลงทับมิให้สูญพันธุ์ และมีการนำเอาปีกแมลงทับทั้ง 2 ชนิดนี้ทำเป็นงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการพระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
แมลงทับขาแดง 
มักอยู่รวมเป็นกลุ่มใหญ่ พบกินใบพันซาด มะค่าแต้ พะยอมเต็ง ตะแบกแดง และกางขี้มอด ในบริเวณป่าเต็งรังและรอยต่อระหว่างป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณที่มีไผ่เพ็กหรือไผ่โจดขึ้นเป็นไม้พื้นล่าง พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

       แมลงทับขาเขียว 
พบอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่มีขอบเขตแพร่กระจายกว้างทั้งประเทศชอบกินใบคางมะขามเทศ และต้นถ่อน ที่ขึ้นตามที่รกร้าง ป่าละเมาะ และริมข้างทาง 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมลงทับขาเขียว
เกี่ยวข้องกับวิถีอีสาน
    เวลาฝนตกเซาใหม่ ๆ หรือ เพิ่งหยุดตก  ช่วงเข้าพรรษา  เด็กน้อยลูกอีสาน พากันจับกลุ่ม
ไปเป็นหมู่คณะ ไปหา สั่นเอาแมงทับ หรือแมงคับ ตามต้นฮัง ต้นมะขามเทศ ( หมากขามแป )
ต้นมันปลา  ต้นตะแบก  และต้นส้มเสี้ยว  โดยเมื่อพบ จะสั่นกิ่งไม้ให้มันตกลงมา
บ้างก็วิ่งไล่แมงทับ เพราะปีกมันเปียกฝนบินไปไม่ไกล   เมื่อได้แล้ว ก็ นำปีกมันออก
เอาไปคั่ว หรือ จี่ ตามแต่ ถนัด

เนื่องจากปีกแมลงชนิดนี้ เงาวาวสีสันมรกต งดงาม จึงนิยมเอามาประดับ เครื่องไม้เครื่องมือ
เช่น เหน็บฝากระติบข้าว  เหน็บข้างฝาแถบตอง   เหน็บกระต่า , กระบุง กระด้ง ยามไปนา
บางครั้งก็เอามาทำ ปิ่นผม  บางคนร้อยเป็นสร้อย ข้อมือ ต้อนขวัญน้อง
เด็กๆ จะเอาปีกแมงทับที่งดงามมาอวดกัน เป็นที่สนุกสนาน  เนื่องจากปีหนึ่งๆ  จะหาแมงทับได้
ครั้งเดียวเท่านั้น
แมงทับ มีความสัมพันธ์กันกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง  โดยเฉพาะ ต้นโจด และกอหญ้าเพ็ก ซึ่งที่วางไข่
รวมทั้งพันธุ์ไม้ต่างๆ ในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นความเชื่อว่า หากปีไหนแมงทับ  มีหลากหลาย
ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ไม่ทิ้งช่วง ขณะที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
ปีกของมันที่งดงาม ราวกับจะบอกว่า ระบบนิเวศน์ แห่งความสมดุล งดงามราวอัญมณี   

ด้วง

ด้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (อังกฤษBeetle) จัดเป็นแมลงในอันดับColeoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่หนอนดักแด้ และตัวเต็มวัย
ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท
กายวิภาค
  • ส่วนหัว มีตารวม 1 คู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีตาเดี่ยว 1-2 ตาด้วย มีหนวดโดยมากจะเป็น 11 ปล้อง ลักษณะแตกต่างกันตามวงศ์และแต่ละชนิด โดยหนวดแต่ละอย่างมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป คือ หนวดปล้องฐาน, หนวดปล้องสอง, หนวดปล้องที่ 3-11 และแบ่งประเภทของหนวดออกได้ถึง 9 ประเภท ตามลักษณะต่าง ๆ ส่วนของปากประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ แต่ส่วนที่แข็งและมีพละกำลังมากที่สุด คือ กรามปาก ซึ่งในบางวงศ์ เช่น ด้วงคีม (Lucanidae) มีกรามปากที่มีลักษณะคล้ายคีมหรือกรรไกรขนาดใหญ่ยื่นยาวออกมา ใช้ในกรต่อสู้ป้องกันตัว และแย่งชิงเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนของริมฝีปากบน, ริมฝีปากล่างช่วยในการส่งผ่านอาหารเข้าปาก
  • ส่วนอก ส่วนอกของด้วงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปล้อง คือ อกปล้องแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่ติดกับส่วนหัว เป็นส่วนอกปล้องเดียวที่สามารถมองเห็นได้จากด้านบน ในด้วงกว่าง (Dynastinae) เพศผู้หลายชนิดมีลักษณะเป็นแผ่นแข็งคล้ายเขายื่นยาวออกไป อาจมีแขนงเดียวหรือหลายแขนงก็ได้ ซึ่งอกปล้องแรกนี้มีความสำคัญในการอนุกรมวิธาน ซึ่งอกส่วนนี้อาจดูคล้ายส่วนหัวมาก แต่หากสังเกตให้ดีจะเห็นรอยต่อของส่วนหัวกับอกปล้องแรกนี้แยกจากกันชัดเจน, อกปล้องสอง และป้องสาม มักถูกปีกแข็งปิดคลุมด้านบนไว้ ส่วนของอกปล้องทั้ง 3 มีขาติดอยู่กับปล้องละ 1 คู่ อกปล้องกลาง หรืออกปล้องที่สอง มีปีกแข็งหรือปีกคู่หน้าติดอยู่ ตรงฐานปีกแข็งด้านบนมีแผ่นแข็งตรงกลางที่เป็นเหมือนจุดหมุมของปีกแข็งที่เรียกว่า สามเหลี่ยมฐานปีก ส่วนอกปล้องที่สาม มีปีกคู่ที่สอง ซึ่งโปร่งใสและบาง ใช้ในการบิน
  • ส่วนท้อง โดยปกติแล้วจะมี 7 ปล้อง แต่บางชนิดก็มี 8 ปล้อง ปล้องท้องแต่ละปล้องมีแผ่นแข็งแต่ละแผ่นคลุมไว้ทั้งด้านบน และด้านล่าง ส่วนของท้องมักถูกปีกแข็งคู่หน้าคลุมไว้จนมิด แต่บางครั้งก็มีส่วนปลายสุดโผล่ยื่นออกมา





วิธีการเลี้ยงด้วง

ตัวอ่อนด้วงกว่างกินซากพืชที่ผุพังอยู่ใต้ดินหากมีดินเปล่าด้วงจะตาย
หรืออาหารไม่มีซากพืชเพียงพอ ด้วงก็จะไม่โต พอออกดักแก้มาก็จะตัวแคระแกรน
ถ้าท่านไม่อยากผสมดินเอง สามารถไปซืเอดินอาหารด้วงได้แล้วในปัจจุบัน ที่ร้านขายแมลงที่สวนจตุจักร
ส่วนสูตร พีชมอส+ดินนิดหน่อย+เชื้อเห็ดฟาง 3-4 ก้อน+ใบไม้ผุ+ไม้ผุ+ขี้เลื่อย+น้ำ
ก็จะได้ดินเลี้ยงด้วงแล้ว ส่วนใส่อะไรเท่าไหร่กะเอา ไม่ได้ตายตัว แจ่ขาดไม่ได้เลยคือ
ก้อนเชื้อเห็ดและขี้เลื่อย เพราะด้วงจำเป็นต้องมีตัวช่วยในการย่อยไม้

ตั๊กแตนใบไม้

ตั๊กแตนใบไม้ (อังกฤษLeaf Insect) มีลักษณะเหมือนใบไม้ที่มีทั้งแกนใบและเส้นใบ ที่เหมือนถูกแมลงกัดกิน โดยจะมีลักษณะหนวดของตั๊กแตนใบไม้นั้นจะเป็นแบบเส้นด้าย โดยหนวดชนิดนี้จะมีลักษณะยาว ซึ่งปล้องทุกปล้องมีขนาดเกือบเท่ากัน และจะมีปากทำหน้าที่ในการกัดและบดเคี้ยวอาหาร ประกอบด้วย Labrum เป็นแผ่นบาง ปากมีลักษณะเป็นชั้นเดียว มี mandibles ใหญ่และแข็งแรง ซึ่งด้านข้างมีลักษณะเป็นฟันเลื่อยเพื่อกัดและบดเคี้ยวอาหาร ทั้งนี้ยังมีปีกคู่หน้า ซึ่งเนื้อปีกครึ่งแข็งครึ่งอ่อนตลอดทั้งปีก และปีกคู่หลัง มีเนื้อบางใสทั้งปีก เห็นเส้นปีกชัดเจน และมี jumping leg ทำหน้าที่ยึดหรือหนีบเหยื่อที่จับได้ เช่นเดียวกับขาคู่หลังของตั๊กแตนตำข้าว
ในปัจจุบันนั้นมีการจับตั๊กแตนใบไม้กันมากเพื่อนำไปจำหน่ายหรือนำไปเลี้ยงทำให้ตั๊กแตนใบไม้ลดจำนวนลงมาก เนื่องจากมันเคลื่อนไหวได้ช้าจึงทำให้ถูกจับได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เองกรมอุทยานแก่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงจัดให้ตั๊กแตนในสกุลนี้ เช่นตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้ อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่กำหนดให้มีการนำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตั๊กแตนใบไม้

ลักษณะ

ตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Phasmatodea สกุล Phylium โดยแมลงในอันดับนี้คือพวกตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ ซึ่งถือว่าเป็นแมลงหายากที่รู้จักกันดีในชื่อของแมลงกลุ่ม Phasmids โดยลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด มีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย แมลงกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญในแง่ของการศึกษากระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้เทคนิคการพรางตัว เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นตั๊กแตนใบไม้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการป้องกันตัว โดยใช้เทคนิคการพรางตัว ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในแง่ของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์และพืชที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี โดยคำว่า Phasma มาจากภาษาละติน แปลว่า ผี ซึ่งมาจากกลไกที่ใช้ในการหลบหลีกศัตรูของแมลงกลุ่มนี้ นั่นเอง

การพรางตัว

เนื่องจากตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่เคลื่อนไหวช้าและไม่กระโดด การเคลื่อนที่นั้นจะใช้วิธีเดิน ปีนป่ายไปตามกิ่งไม้ ใบไม้อย่างช้าๆ ทั้งนี้พบว่ามันมีรูปร่างคล้ายกับใบไม้ที่มันกาะอาศัย ปีกมีสีเขียวคล้ายๆใบไม้ อีกทั้งยังมีปีกที่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายกับเส้นใบไม้ จึงมองดูคล้ายกับใบไม้มาก บางครั้งมันมีการโยกตัวไหวไปมาเล็กน้อยคล้าย ๆ กับใบไม้ถูกลมพัด และบางชนิดก็มีสีน้ำตาลปนแดง ปีกมีสีคล้ายกับใบไม้แห้งที่มันเกาะอยู่ซึ่งลักษณะที่มันพรางตัวให้คล้ายกับใบไม้ที่มันเกาะอยู่นั้นก็เพื่อการหลบหนีศัตรูและการหาอาหารทำให้ศัตรูและเหยื่อไม่สามารถมองเห็นมันได้เนื่องจากรูปลักษณ์ที่เหมืนใบไม้มากๆของมันนั่นเอง จึงอาจทำให้ศัตรูและเหยื่อเข้าใจว่ามันเป็นแค่ใบไม้ใบหนึ่งเท่านั้น 
ในการเปลี่ยนสีของตั๊กแตนใบไม้นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น แลความเข้มของแสงในสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์ Epidermis ที่อยู่เหนือผิว Cuticle ซึ่งจะมีเม็ดสี (Pigment Granules) คอยเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ขาที่เป็นแผ่นบางๆของมันยังช่วยทำให้มีโครงสร้างกลมกลืนกับใบไม้ทำให้มันกลายเป็นใบไม้ใบหนึ่งได้ไม่ยาก 
ตั๊กแตนใบไม้มีวิธีการหนีศัตรูด้วยการอยู่นิ่งๆตามต้นไม้โดยเฉพาะบริเวณใบ ซึ่งตั๊กแตนใบไม้บางชนิดจะมีสีเขียวทั้งหมดเหมือนใบไม้สด บางชนิดมีสีน้ำตาลเหมือนใบไม้แห้ง นอกจากนั้นเมื่อถูกศัตรูพบเห็นก็มักจะข่มขู่ให้ศัตรูตกใจกลัว ด้วยการแผ่กางปีกที่มีสีสันสวยงามซ่อนไว้ภายในออกมาจนมีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 2 เท่า พร้อมกับกรีดปีกให้มีเสียงดังเพื่อเป็นการขับไล่ศัตรู
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตั๊กแตนใบไม้

ตั๊กแตนกิ่งไม้



เจ้าแมลงชนิดนี้มีชื่อเรียกในภาษาไทยภาคกลางว่า “ตั๊กแตนกิ่งไม้” หรือ “ตั๊กแตนใบไม้” แต่ชื่อสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า Phasma ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินที่มีความหมายว่า “ผี” ซึ่งก็คล้ายกับทางภาคอีสานของบ้านเราที่เรียกเจ้าตั๊กแตนกิ่งไม้นี้ว่า “แมงหามผี” ตั๊กแตนกิ่งไม้ สามารถพบได้ตามป่าทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะพบในป่าเขตร้อนมากกว่า ตั๊กแตนกิ่งไม้นั้นกินพวกแมลงเล็กๆ เป็นอาหาร โดยพรางตัวให้เหมือนกับใบไม้หรือกิ่งไม้เพื่อค่อยๆ ย่องเข้าไปจัดการเหยื่อ หรือล่อให้แมลงบินเข้ามาแล้วจัดการซัดเป็นอาหารซะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตั๊กแตนกิ่งไม้
รูปร่างของตั๊กแตนกิ่งไม้จะถูกวิวัฒนาการไปตามถิ่นที่อยู่ เนื่องจากตั๊กแตนกิ่งไม้นั้นเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้าและไม่สามารถกระโดดหรือบินได้เหมือนชื่อของมัน การวิวัฒนาการให้รูปร่างกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมก็ช่วยให้พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในป่าได้
จากการศึกษาของนักกีฏวิทยามาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 ค้นพบตั๊กแตนกิ่งไม้กว่า 3,000 ชนิดทั่วโลกกระจายตัวอยู่ตามป่าแต่ละชนิดนั้นต่างกันแค่เพียงลักษณะเท่านั้น แต่รูปร่างเหมือนกันเป๊ะๆ ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น เจ้าตั๊กแตนกิ่งไม้นี่ถือว่าเป็นหมอของชาวบ้านเลยทีเดียว บางท้องที่ถึงขนาดนำมาเลี้ยงเพื่อนำมูลของมันเอามาตากให้แห้งใช้ผสมกับน้ำร้อนทำเป็นชาดื่มเพื่อรักษาโรคกระเพาะและสมานแผลในกระเพาะอาหาร
เหตุที่เจ้าตั๊กแตนกิ่งไม้ถูกเรียกว่าภูติแห่งป่าในความเชื่อของชาวตะวันตก ก็เนื่องมาจากความสามารถในการพรางตัวของพวกมันที่เหมือนกับล่องหนราวกับภูติผีนี่แหละ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผีเสื้อ

ชนิดของผีเสื้อ ผีเสื้อมี 2 ชนิด คือ ผีเสื้อกลางคืน และผีเสื้อกลางวัน สังเกตได้ง่ายๆ ผีเสื้อกลางวันจะมีสีสันสดใสกว่า หากินเฉพาะกลางวัน ปากมีลักษณะเป็นงวง แต่ผีเสื้อกลางคืน จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ มักมีสีน้ำตาล และไม่มีลายเด่นชัด หากินกลางคืน และบางชนิดมีปากลดรูปไป จนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์ ย้อนกลับไปดูการเริ่มต้นของการกำเนิดผีเสื้อนั้น ในภาวะการสืบพันธุ์แบบปกติแล้วตัวเมียจะผสมกับตัวผู้ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหาร การเลือกพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อนั้นๆ ก่อนวางไข่ ตัวเมียมักตรวจตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวดและขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่ วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 100 ฟอง มีอายุ 5-7 วัน และใน 100 ฟอง นี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อ 100 ตัวในธรรมชาติ อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ 2 % หรือ 2 ตัวเท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมล

งบางชนิดไป หรือ อาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า