อาหารหมู่ที่ 3 วิตามินพืชผัก
อาหารหมู่ที่ 3 ประกอบไปด้วยผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำลึง ผักกาด ผักบุ้ง ผักใบเขียวต่างๆ และผักชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำมารับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ให้ร่างกายได้มีแรงต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดต่างๆ แถมยังทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติอีกด้วย
ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 3
ประเภทของสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับจากการทานอาหารในหมู่ที่ 3 นี้ก็คือวิตามิน ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มของสารอินทรีย์ และยังเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายได้อย่างปกติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินเองได้ ดังนั้นจึงเกิดอาการอาศัยสมบัติของการละลายตัวของวิตามิน และทำให้เกิดการแบ่งวิตามินออกเป็น 2 จำพวกคือ วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ
1. วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน คือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่มีการดูดซึมโดยการต้องอาศัยไขมันในอาหาร มีหน้าที่ทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนบางชนิดในร่างกาย
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินทั้ง 9 ตัว ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 ไนอาซิน กรดแพนโทนิก ไบโอติน และโฟลาซิน เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ทางชีวเคมีคือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินทั้ง 9 ตัว ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 ไนอาซิน กรดแพนโทนิก ไบโอติน และโฟลาซิน เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ทางชีวเคมีคือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้
ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 3
1. ช่วยในการมองเห็นของดวงตา โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย
2. ช่วยเผาผลาญโปรตีนที่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน
3. มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ไขกระดูก หรือทางเดินอาหาร
2. ช่วยเผาผลาญโปรตีนที่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน
3. มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ไขกระดูก หรือทางเดินอาหาร
ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
- รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
- มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
- หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น