วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน

อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน

 
สำหรับอาหารในหมู่นี้ประกอบไปด้วยกะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้สารอาหารประเภทไขมันแก่ร่างกาย จึงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต อีกทั้งร่างกายจะเกิดการสะสมพลังงานที่ได้จากอาหารประเภทนี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก และบริเวณต้นขา เป็นต้น และไขมันที่สะสมไว้นี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งยังเป็นพลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอีกด้วย

ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 5

สำหรับประเภทของสารอาหารในอาหารหมู่นี้ก็คือ ไขมัน ซึ่งเป็นสารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ แต่จะสามารถละลายได้ดีในน้ำมันและไขมันด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน คือ ไตรกลีเซอไรด์และคอเสเตอรอล โดยส่วนใหญ่ไขมันทั้งสองชนิดนี้จะอยู่ในอาหาร และในส่วนของประเภทกรดไขมันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. กรดไขมันไม่จำเป็น คือกรดไขมันที่นอกจากร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสังเคราะห์กรดไชมันชนิดนี้ได้อีกด้วย นั่นก็คือ กรดสเตียริกและกรดโอเลอิก
2. กรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป โดยกรดไขมันชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตัวคือ กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก และกรดอะแรคิโดนิก

ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 5

1. ไขมันในปริมาณ 1 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 9 กิโลแคลอรี ให้กรดไขมันที่จะเป็นต่อการช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี แบะวิตามินเค
2. ไขมันจะทำให้รสชาติของอาหารถูกปาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ
3. มีส่วนช่วยทำให้อิ่มท้องได้นาน ไม่ทำให้รู้สึกหิวบ่อยๆ

ถ้าร่างกายขาดวิตามินจากผลไม้จะมีผลอย่างไร

มีประโยชน์เช่นเดียวกับวิตามินในพืชผักและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่าหากขาดวิตามินเหล่านี้ไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ดังนี้
  • ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง และเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีสุขภาพที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำให้ระบบการขับถ่ายแปรปรวนได้ เพราะได้รับใยอาหารที่มีในผลไม้น้อยเกินไป
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุน เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง
  • อาจมีปัญหาตาฝ้าฟางและระบบประสาทผิดปกติ

อาหารหมู่ที่ 4 วิตามินผลไม้

อาหารหมู่ที่ 4 วิตามินผลไม้

 
อาหารประเภทนี้ประกอบไปด้วยผลไม้ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ส้ม มะละกอ แอปเปิล ลำไย มังคุด และอื่นๆ ซึ่งผลไม้เหล่านี้จะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยทำให้ร่างกายของคนเรามีความแข็งแรงพร้อมทั้งมีแรงในการต้านทานโรค แถมยังมีกากใยอาหารที่ช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นไปตามปกติอีกด้วย

ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 4

ประเภทของสารอาหารที่จะได้รับจากอาหารหมู่นี้นั่นก็คือ เกลือแร่ ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่ร่างกายขาดไม่ได้เลย ทั้งนี้มีการแบ่งเกลือแร่ชนิดนี้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. เกลือแร่ที่มนุษย์ต้องการในปริมาณที่มากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม นั่นก็คือ แมกนีเซียม โซเดียม กำมะถัน ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม คลอรีน และแคลเซียม
2. เกลือแร่ที่มนุษย์ต้องการในปริมาณวันละ 2-3 มิลลิกรัม นั่นก็คือ เหล็ก โครเมียม ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี แมงกานีส ซีลีเนียม ฟลูออรีนและโมลิบดีนัม

ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 4

1. ช่วยควบคุมความเป็นกรด – ด่างในร่างกาย เพราะ โพแทสเซียม คลอรีน ฟอสฟอรัส และโซเดียม มีหน้าที่สำคัญในการช่วยควบคุมความเป็นกรด – ด่างในร่างกาย
2. ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ เนื่องจากโพแทสเซียมและโซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์
3. มีส่วนช่วยในการเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากปฏิกิริยาหลายชนิดที่อยู่ในร่างกายจะดำเนินไปได้นั้น ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดพลังงาน

ถ้าร่างกายขาดวิตามินจากผลไม้จะมีผลอย่างไร

มีประโยชน์เช่นเดียวกับวิตามินในพืชผักและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่าหากขาดวิตามินเหล่านี้ไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ดังนี้
  • ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง และเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีสุขภาพที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำให้ระบบการขับถ่ายแปรปรวนได้ เพราะได้รับใยอาหารที่มีในผลไม้น้อยเกินไป
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุน เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง
  • อาจมีปัญหาตาฝ้าฟางและระบบประสาทผิดปกติ


อาหารหมู่ที่ 3 วิตามินพืชผัก

อาหารหมู่ที่ 3 วิตามินพืชผัก

 
อาหารหมู่ที่ 3 ประกอบไปด้วยผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำลึง ผักกาด ผักบุ้ง ผักใบเขียวต่างๆ และผักชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำมารับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ให้ร่างกายได้มีแรงต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดต่างๆ แถมยังทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติอีกด้วย

ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 3

ประเภทของสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับจากการทานอาหารในหมู่ที่ 3 นี้ก็คือวิตามิน ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มของสารอินทรีย์ และยังเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายได้อย่างปกติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินเองได้ ดังนั้นจึงเกิดอาการอาศัยสมบัติของการละลายตัวของวิตามิน และทำให้เกิดการแบ่งวิตามินออกเป็น 2 จำพวกคือ วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ
1. วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน คือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่มีการดูดซึมโดยการต้องอาศัยไขมันในอาหาร มีหน้าที่ทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนบางชนิดในร่างกาย
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินทั้ง 9 ตัว ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 ไนอาซิน กรดแพนโทนิก ไบโอติน และโฟลาซิน เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ทางชีวเคมีคือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้

ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 3

1. ช่วยในการมองเห็นของดวงตา โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย
2. ช่วยเผาผลาญโปรตีนที่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน
3. มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ไขกระดูก หรือทางเดินอาหาร

ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
  • มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
  • หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน

อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

 
อาหารหมู่ที่ 2 ประกอบไปด้วยข้าว น้ำตาล แป้ง มัน และเผือก เป็นต้น ซึ่งอาหารประเภทนี้จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกาย และนั่นก็คือการให้พลังงานแก่ร่างกายนั่นเอง มันจึงทำให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย ในส่วนของพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะหมดไปเป็นวันต่อวัน จากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำงาน ออกกำลังกาย และเดิน เป็นต้น แต่หากคุณรับประทานอาหารประเภทนี้มากเกินความต้องการของร่างกายก็จะทำให้พลังงานถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน จนทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา

ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 2

คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. โนโนแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดของโมเลกุลเล็กที่สุด จะดูดซึมจากลำไส้ได้เลยเมื่อเข้าสู่ร่างกาย โดยที่ไม่ต้องผ่านการย่อยแต่อย่างใด
2. ไดแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบของโมโนแซ็กคาไรด์จำนวน 2 ตัวมารวมกัน เมื่อร่างกายได้รับสารไดแซ็กคาไรด์ จะทำให้น้ำย่อยที่อยู่ในลำไส้เล็กย่อยออกมาเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. พอลีแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังมีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน และประกอบไปด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมกัน

ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 2

1. มีความจำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
2. มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง
3. สงวนคุณค่าของโปรตีนไม่ให้เกิดการเผาผลาญเป็นพลังงาน หากร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่เพียงพอ
4. คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของแคลอรีทั้งหมดที่ร่างกายได้รับแต่ละวัน
5. กรดกลูคูโรนิกซึ่งเป็นสารอนุพันธุ์ของกลูโคสนั้น จะคอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อสารพิษเหล่านั้นผ่านไปที่ตับให้มีพิษลดลง อีกทั้งยังทำให้สารพิษอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกมาได้

ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
  • มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
  • หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน


อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

 
สำหรับอาหารหมู่ที่ 1 นั้นประกอบไปด้วยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ ซึ่งอาหารประเภทนี้จะให้สารอาหารประเภทโปรตีนแก่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต อีกทั้งยังทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น มันยังทำหน้าที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานเพื่อป้องกันโรคให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี
สำหรับร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ร่างกายเกิดการสึกหรอ สารอาหารเหล่านี้ก็ช่วยซ่อมแซมในส่วนนั้นได้ดีทีเดียว ในส่วนของอาหารประเภทนี้ยังถูกนำไปสร้างกระดูก เลือด กล้ามเนื้อ ผิวหนัง น้ำย่อย เม็ดเลือด และฮอร์โมน รวมทั้งภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้นจึงถือว่าอาหารที่อยู่ในหมู่ที่ 1 นี้ จัดเป็นอาหารหลักที่มีความสำคัญในการสร้างโรคงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต และช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติยิ่งขึ้น

ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 1

สารอาหารที่อุดมอยู่ในอาหารหมู่ที่ 1 นั้นก็คือ โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะประกอบไปด้วยสารเคมี 2 ชนิดด้วยกันคือ
1. กรดอะมิโนจำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ดังนั้นร่างกายจึงต้องได้รับกรดอะมิโนประเภทนี้จากการรับประทานเข้าไป
2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหาร และยังได้รับจากการสร้างขึ้นมาเองของร่างกายอีกด้วย

ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 1

1. โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
2. ร่างกายมีความต้องการโปรตีนอยู่เสมอเพื่อนำโปรตีนไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่สึกหรออยู่ทุกวัน
3. โปรตีนมีส่วนช่วยรักษาดุลน้ำ เพราะโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือดจะช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสม
4. ช่วยรักษาดุลกรด – ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนนั้นจะมีหน่วยคาร์บอกซีลที่มีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นด่าง ดังนั้นโปรตีนจึงมีคุณสมบัติช่วยรักษาดุลกรด – ด่างนั่นเอง และนั่นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ภายในร่างกาย

ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
  • มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
  • หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แหล่งการเรียนรู้

อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติฯ 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขกำแพงแสน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โดมแมลง กําแพงแสน


อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ เป็นโดมแมลงขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯ ดำเนินงานด้านการวิจัยค้นคว้าและพัฒนางานด้านกีฏวิทยา นักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับแมลงและผีเสื้อนานาพันธุ์




การใช้ QR CODE ในการศึกษาแหล่งเรียนรู้






วิดีโอแนะนำอุทยานโดมแมลง



กิจกรรมทางกายโดยใช้ภาพวาดแมลงเป็นสื่อ